ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง

      ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสิงหนคร ขนาดพื้นที่ 7,821 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 6,824 ไร่ พื้นที่ทำการประมง 41 ไร่ พื้นที่ที่อยู่อาศัย 946 ไร่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ 10 ไร่

อาณาเขต
      ทิศเหนือ จดตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
      ทิศใต้ จดตำบลทำนบ - ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
      ทิศตะวันออก จดตำบลวัดขนุน - ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
      ทิศตะวันตก จดตำบลชะแล้ - ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

มีเขตรับผิดชอบ
      - หมู่ที่ 1 บ้านหนองโด
      - หมู่ที่ 2 บ้านขมวน
      - หมู่ที่ 3 บ้านรำแดง
      - หมู่ที่ 4 บ้านหนองโอย
      - หมู่ที่ 5 บ้านนอก
      - หมู่ที่ 6 บ้านรำแดง
      - หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง

สภาพชุมชนแบ่งออกเป็น 5 ชุมชน ประกอบด้วย
      1. ชุมชนหนองโด พื้นที่ หมู่ที่ 1
      2. ชุมชนขมวน พื้นที่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 6 บางส่วน
      3. ชุมชนรำแดง พื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 บางส่วน
      4. ชุมชนหนองโอย พื้นที่ หมู่ที่ 4
      5. ชุมชนป่าขวาง พื้นที่ หมู่ที่ 7

สภาพภูมิประเทศ
      มีสภาพเป็นที่ราบ และราบลุ่มแบบท้องกะทะ บริเวณชุมชนรำแดง มักมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมของทุกปี

     ลักษณะ อากาศทั่วไป
     มีลักษณะร้อนชื้น สลับกันไปตามฤดูกาล มีลมทะเลพัดผ่านทั้ง 2 ด้าน (ทะเลสาบสงขลา - อ่าวไทย) มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่าง 28.0 -- 28.7 องศาเซลเซียส มีความชื้นสูงสุด ในเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 84% ความชื้นต่ำสุด ในเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ประมาณ 76% ความชื้นสัมพัทธ์ ตลอดปี 79%

    ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - มกราคม เป็นเวลา 9 เดือน โดยในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
     ระยะแรก เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - กันยายน ในช่วง 5 เดือน จะมีฝนตกพอสมควร
      ระยะที่สอง เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม - มกราคมของทุกปี ในระยะนี้จะมีฝนตกชุก และมีปริมาณค่อนข้างมาก เดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกมากที่สุด และจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ของทุกปี เนื่องจากในระยะทิศตะวันนี้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง และถอยออกไปจากภาคใต้ โดยมีลมระหว่างทิศใต้ และลมทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทนที่ เนื่องจากลมนี้เป็นลมร้อน และชื้น จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะไม่สูงมากนัก เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลทั้งสองด้าน และลมพัดประจำอยู่ตลอดเวลา 3 เดือน
    
     การเดินทาง
     อดีตตำบลรำแดงใช้ลำคลองสทิ้งหม้อเป็นเสาหลักโดยออกไปตัวเมืองสงขลา และเดินเท้าไปตำบลใกล้เคียง ไม่มีถนน ในปี พ.ศ. 2529 อำเภอสิงหนครได้รับงบประมาณก่อสร้างถนนลาดยางเป็นเส้นทางประโอ ถึงตำบลสทิ้งหม้อ ผ่านเข้าตำบลรำแดง ถึงที่ว่าการอำเภอสิงหนคร อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ทำให้การคมนาคมของตำบลสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในพื้นที่ อบต. ก็ได้พัฒนาจนการคมนาคมสะดวกรวดเร็ว แต่ไม่มีรถประจำทางจากตำบลรำแดงถึงที่ว่าการอำเภอสิงหนคร 15 กิโลเมตร
     
     ด้านสาธารณูปโภค
     ตำบลรำแดงมีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1, 2, 4, 5, 7 แต่สามารถนำน้ำประปามาใช้ได้ทุกหมู่บ้าน มีผู้ใช้ระบบน้ำประปา จำนวน 400 กว่าหลังคาเรือน โดยอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง โทรศัพท์บ้านมีคู่สาย คือหมู่ที่ 3, 5, 7 และมีตู้โทรศัพท์สาธารณะทุกหมู่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวก มีไฟฟ้าใช้ทุกเรือน

    อาชีพ
     ประชากรตำบลรำแดงทำนาเป็นอาชีพหลักร้อยละ 64.46 โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน และเมื่อพ้นช่วงทำนา ประชากรวัยแรงงานก็จะออกไปรับเหมาก่อสร้าง และขึ้นตาลโตนด ในขณะที่กลุ่มแรงงานวัยรุ่นรับจ้างโรงงาน นอกจากนี้ก็จะมีออกไปทำค้าขาย และรับราชการ ร้อยละ 4.18 รายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 30,000 บาท

     ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม อิทธิพลทางความคิด (ค่านิยม)
     ประเพณีพิธีกรรมที่ประชาชนกระทำเป็นประจำ มีประเพณีชักพระ ลอยกระทงในวันลอยกระทง งานสงกรานต์ จะนิยมทำกันในเดือนห้าของทุกปี ลูกหลานจะอาบน้ำคนเฒ่าคนแก่ และพิธีกรรมใหญ่ที่วัดห้วยพุด งานเดือนสิบ มี 2 ครั้ง ครั้งแรกทำกันในเดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ เป็นการรับเปรต ครั้งที่ 2 ในเดือน 10 แรม 1 ค่ำ เป็นการส่งเปรต

     การนับถือศาสนา
     นับถือศาสนาพุทธ จำนวนร้อยละ 99.80 มีวัดจำนวน 2 วัด
     นับถือศาสนาอิสลาม จำนวนร้อยละ 0.19

     โรงเรียน
     มีโรงเรียน จำนวน 2 โรงเรียน คือ
      1. โรงเรียนวัดป่าขวาง
      2. โรงเรียนวัดห้วยพุด
     การศึกษาของประชาชนส่วนใหญ่ ประมาณ 70% จบการศึกษาภาคบังคับ ป.4

      การคมนาคม
      - เส้นทางส่วนมาก การคมนาคมเป็นทางลูกรัง ถนนคอนกรีตบางส่วนเป็นถนนลาดยางเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน

      ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
      ประกอบด้วยจำนวน 11 คน ดังนี้
           - ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 3 คน
           - ตำแหน่งในส่วนการคลัง 5 คน
           - ตำแหน่งในส่วนโยธา 2 คน
           - ตำแหน่งส่วนการศึกษา 1 คน

     ศักยภาพของชุมชน และพื้นที่
           - พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง เต็มพื้นที่ - ไร่ ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว
           - พื้นที่ของตำบลรำแดงมีทั้งหมด 7,821 ไร่
           - พื้นที่ทำการเกษตร 6,865 ไร่
           - ที่อยู่อาศัย 946 ไร่
           - ตำบลรำแดงมีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่ม
           - ตำบลรำแดงมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นส่วนมาก
           - ตำบลรำแดงมีคลองสะทิ้งหม้อไหลผ่าน เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ การเกษตร

     ความต้องการของประชาชน
     ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
      1 เอกสารสิทธิ ประสานงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกบริการเอกสารสิทธิ์ทุกหมู่บ้าน
      2 การคมนาคม ควรเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอทุกหมู่บ้าน ควรจัดทำถนน และซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง และจัดทำถนนคอนกรีต
      3 การประกอบธุรกิจในหมู่บ้าน ควรส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อการลงทุน และบุคลากร เพื่อเปลี่ยนแนวความคิดใหม่

     ความต้องการด้านการผลิต การตลาด รายได้ และการมีงานทำ
      1 การประกอบอาชีพ การไม่มีงานทำ ควรส่งเสริมในด้านอาชีพ เอกชน การเลี้ยงสัตว์
      2 ผลผลิตจากการทำนา ควรส่งเสริมอาชีพหลังการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมด้านวิชาการ
      3 การทำการเกษตรฤดูแล้ง ควรเพิ่มงบประมาณเกี่ยวกับการทำที่กักน้ำ

     ความต้องการด้านสาธารณสุข และอนามัย
      1 การได้รับการคุ้มครองด้านรักษาพยาบาล ควรสนับสนุนให้กองทุนยา และเวชภัณฑ์

     ความต้องการด้านน้ำกิน น้ำใช้การเกษตร
      1 น้ำสะอาด ควรจัดทำที่เก็บน้ำไว้ดื่ม เพื่อใช้ในฤดูแล้ง
      2 น้ำเพื่อการเกษตร ควรดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตร

     ความต้องการด้านความรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต
      1 สถานที่ให้ความรู้สำหรับหมู่บ้าน ควรสนับสนุนด้านงบประมาณในด้านสมุด หนังสือเพื่อการศึกษา
      2 กิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ควรสนับสนุนกิจกรรมด้านศาสนา และอุปกรณ์กีฬาควบคู่กับความรู้

     ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ
      1 ป่าไม้ ควรอนุรักษป่าที่สมบูรณ์ ปลูกป่าไม้เสริม
      2 ดิน ควรส่งเสริมการปรับหน้าดิน ควรส่งเสริมด้านวิชาการ
      3 น้ำ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ

     ความต้องการด้านบริการ การจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล
      1 ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะ มีความรู้ โดยการอบรมสัมมนา หรือศึกษาต่อ
      2 ควรเพิ่มสวัสดิการให้มากขึ้น
      3 ควรมีการส่งเสริม หรือเพิ่มเงินอุดหนุนให้มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และบ้านพักของพนักงาน

     จำนวนประชากร
     จำนวนหลังคาเรือนตามการสำรวจ  จำนวน  532  หลัง
     จำนวนประชากรตามการสำรวจ 2,339 คน  แยกเป็น
          - ชาย  จำนวน  1,125  คน
          - หญิง  จำนวน 1,214  คน