วิสัยทัศน์/พันธกิจ
สภาพทั่วไป
    ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสิงหนคร ขนาดพื้นที่ 7,821 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 6,824 ไร่ พื้นที่ทำการประมง 41 ไร่ พื้นที่ที่อยู่อาศัย 946 ไร่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ 10 ไร่

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ จดตำบลทำนบ - ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก จดตำบลวัดขนุน - ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก จดตำบลชะแล้ - ตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

มีเขตรับผิดชอบ
- หมู่ที่ 1 บ้านหนองโด
- หมู่ที่ 2 บ้านขมวน
- หมู่ที่ 3 บ้านรำแดง
- หมู่ที่ 4 บ้านหนองโอย
- หมู่ที่ 5 บ้านนอก
- หมู่ที่ 6 บ้านรำแดง
- หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง

สภาพชุมชนแบ่งออกเป็น 5 ชุมชน ประกอบด้วย
1. ชุมชนหนองโด พื้นที่ หมู่ที่ 1
2. ชุมชนขมวน พื้นที่ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 6 บางส่วน
3. ชุมชนรำแดง พื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 บางส่วน
4. ชุมชนหนองโอย พื้นที่ หมู่ที่ 4
5. ชุมชนป่าขวาง พื้นที่ หมู่ที่ 7

ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม
ประวัติตำบลรำแดง

     ตำบลรำแดงแต่เดิมนั้นไม่ได้มีชื่อเรียกว่าตำบลรำแดง แต่จะเรียกกันว่าชุมชนรังมดแดง เป็นชุมชนหมู่บ้านที่ได้ตั้งถิ่นฐานมานานหลายร้อยปีมาแล้ว และตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น เป็นชุมชนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม ศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งนี้เพราะที่ตั้งของชุมชนรังมดแดงนั้น เป็นท่าเทียบเรือทางเหนือสุดของคลองสะทิ้งหม้อ ซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมที่มีความสำคัญที่สุดของอำเภอสิงหนคร และเส้นทางการคมนาคมนั้น จากคลองสะทิ้งหม้อสามารถที่จะเดินทางออกสู่ทะเลสาบสงขลาไปยังเมืองหาดใหญ่ และสถานที่อื่น ๆ จึงทำให้ชุมชนรังมดแดงกลายเป็นชุมชนที่มีความสำคัญในการค้าขาย และขนถ่ายสินค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในขณะนั้น

     นอกจากนี้ท่าเทียบเรือชุมชนรังมดแดงยังเป็นตลาดนัดที่สำคัญของหลาย ๆ ตำบล และได้มีชาวบ้านรอบ ๆ พื้นที่ได้เดินทางมาทำการค้าขาย เช่น ตำบลม่วงงาม ปะโอ หนองหอย วัดขนุน ชะแล้ ปากรอ ทำนบ สะทิ้งหม้อ ล้วนแล้วแต่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายในเขตพื้นที่ชุมชนรังมดแดงทั้งหมด เมื่อเวลาผ่านไป ชาวบ้านต่างเรียกชื่อชุมชนรังมดแดงค่อย ๆ เพี้ยนไปจนกลายเป็นชุมชนตำบลรำแดง กลายเป็นตำบลรำแดง และต่อมาได้มีการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
วิสัยทัศน์
“ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ สร้างเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ”
พันธกิจ
1. ส่งเสริมการปกครองโดยชุมชนมีส่วนร่วม
2. สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน
3. ส่งเสริมการศึกษา วิถีชีวิต ให้สอดคล้องกับประเพณีสังคม
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกองทุนผู้ด้อยโอกาส
5. ส่งเสริมด้านการกีฬา และการท่องเที่ยว
6. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง
7. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง สร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน
2. ให้ประชาชนมีการศึกษา สวัสดิการสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. กลุ่มอาชีพในชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาอาชีพและสร้างเศรษฐกิจพอเพียง
4. อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมและส่งเสริมงานด้านศาสนาในท้องถิ่น
5. มีการจัดการชุมชนและสังคมอย่างเป็นระบบ
6. ส่งเสริมการเมือง และการบริหารจัดการภายในที่ดีในตำบล
7. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1. พัฒนาและปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมทางบก
2. พัฒนา ซ่อมแซม สะพานในการสัญจรไป-มา
3. พัฒนาระบบประปาให้มีน้ำประปาที่สะอาดและเพียงพอ
4. จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุมและเพียงพอ
5. ก่อสร้าง ปรับปรุง ท่อระบายน้ำ คู
6. ขยายและปรับปรุงสาธารณูปการอย่างต่อเนื่อง
กองช่าง
กองช่าง
กองช่าง

กองช่าง
กองช่าง
กองช่าง
2. ด้านการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี 1. ส่งเสริมการศึกษาให้ทันสมัย
2. สงเคราะห์ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ด้อยโอกาส
กองการศึกษา
สำนักงานปลัด
3. ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ 1. ส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. พัฒนาอาชีพและส่งเสริมกิจกรรมอยู่ดีมีสุข
สำนักงานปลัด
สำนักงานปลัด
4. ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 1. ส่งเสริมกิจกรรมงานด้านศาสนา
2. ส่งเสริมและสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กองการศึกษา
กองการศึกษา/สำนักปลัด
5. ด้านการจัดการชุมชนและสังคม 1. ส่งเสริมกิจกรรมงานด้านสาธารณสุข
2. ส่งเสริมการกีฬา และการท่องเที่ยว

3. ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
สำนักงานปลัด
กองการศึกษา/สำนักปลัด
สำนักปลัด,
กองช่าง
6. ด้านการเมืองและการบริหารจัดการที่ดี 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเมืองการปกครอง
2. พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรและงานบริหารจัดการภายใน
สำนักปลัด

สำนักปลัด
7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. อนุรักษ์แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและป่าริมคลอง
2. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักปลัด
สำนักปลัด