ประวัติวัดป่าขวาง
วัดป่าขวาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวัดโบราณที่มีความเก่าแก่ควรค่าแก่การศึกษา และเป็นวัดที่มีสายการปฏิบัติธรรมแบบธรรมยุติ เป็นวัดที่อยู่ในชนบท โดยดำเนินการจัดตั้งขึ้นเป็นวัดป่าขวาง เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2438 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2451
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันมีเจ้าอาวาสปกครองวัดกันมาเป็นจำนวน 6 รูป
พระสมุห์เอียด
พระเคลื่อน
พระสมหุห์คลิ้ว
พระครูโสภณศีราจาร(รักษาการเจ้าอาวาส)
พระครูกิตติศีลวัตร ( ท่านอาจารย์หลวงปู่เมฆ)
พระครูปริยัติกิจโกศล(รักษาการเจ้าอาวาสปัจจุบัน)
ประวัติทานอาจารย์ เคยดำรงต่ำเหน่งเจ้าคณะตำบลชะแล้ และพระอุปัชณาย์ เกิดวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ณ หมู่บ้านบางเขียด จังหวัดสงขลา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ร่วมกัน 8 คนท่านเป็นคนที่ 3 ครั้นเมื่ออายุ 11 ปี ได้เข้ารับราชการที่โรงเรียนชะแล้ หลังจากศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถม 4 ก็ช่วยงานที่บ้านอยู่ระยะเวลาหนึ่ง จึงตัดสินใจบวชสามเณร ณ ดีหลวงนอก ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นเวลา 1 ปี เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทที่วัดภูตบรรพต ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังสงขลา โดยมีพระครูโสภณศิลราจารเป็นพระอุปัชณาย์
หลังจากอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดภูตบรรพต โดยได้ศึกษาด้านปริยัติธรรมและได้ศึกษาในภาษาบาลีด้วยจนได้รับนักธรรมเอก หลังจากนั้นจึงให้ความสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้ไปศึกษาแนวทางการปฏิบัติกับพระปัญญาพิศาล ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาศีมาราม กรุงเทพมหานคร หลังจากศึกษาแล้วท่านก็ให้ความสนใจและตั้งใจเกี่ยวกบการปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อค้นหาและพบเจอกับสัจธรรม
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 ที่วัดป่าขวาง ตำแหน่งเจ้าอาวาสไม่มีผู้ปกครองวัดและด้วยเหตุปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ท่านต้องมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าขวางตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากคำบอกเล่าของพระจิตต์ ถิรจิต โต ผู้ซึ่งได้ปฏิสันถารกับท่านอาจารย์เล่าว่า เมื่อท่านตัดสินใจที่จะรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าขวางแล้ว ได้เดินทางมาถึงวัดป่าขวาง ซึ่งครบกับวันเข้าพรรษา โดยที่วัดได้มีพระภิกษุและสามเณร 12 รูป พร้อมโยมผู้หญิง 3 คน และลูกศิษย์วัด 4 คน เมื่อรับตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงขอแรงญาติโยมให้ช่วยกันสร้างโรงจงกลมสำหรับปฏิบัติธรรม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากญาติโยมวัดป่าขวางเป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดโรงจงกลมขึ้นแห่งแรกในอำเภอสิงหนคร หลังจรากนั้นท่านอาจารย์ได้เริ่มอบรมพระภิกษุสามเณร และญาติโยมทั้งหลายเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ขณะเดียวกันได้อบรมสั่งสอนด้านปริยัติธรรมควบคู่กับการปฏิบัติด้วย พร้อมสนับสนุนให้พระภิกษุในปกครองเข้าสอบธรรมสนามหลวงทุก ๆ ปี จากนั้นยังผลักดันให้พระภิกษุสามเณรในปกครองไปศึกษาที่วัดอื่น เป็นต้น
นอกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ในส่วนของการพัฒนาพระอาจารย์ก็ไม่ได้ละเลยโดยสร้างและบูรณะถาวรวัตถุในวัดมากมาย เช่น ศาลาการเปรียญ กำแพงวัด และที่สำคัญที่สุดคือ ท่านได้สร้างพระปางเลไลย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางเลไลย์องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก และในส่วนของสังคมนั้น อาจารย์ได้สร้างถนนไปหมู่บ้านรำแดง โดยอาศัยแรงศรัทธาญาติโยม เพื่อความสะดวกในการสัญจรของคณะพุทธบริษัททั้งหลายในชีวิตของเพศสมณะของท่านอาจารย์ ท่านยึดถือการวิปัสสนากรรมฐานเป็นชีวิตจิตใจโดยปฏิบัติธรรมและเผยแพร่อย่างจิงจังและเคร่งครัดจึงถึงวาระสุดท้าย